แบบไหนเรียกว่าโคลิค?
1 ใน 5 ร้องโคลิค
การร้องโคลิคอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยกระตุ้น เช่น อาจจะเป็นเพราะเด็กคุ้นเคยกับการอยู่ในท้องอบอุ่นของแม่มาก่อน เมื่อออกมาสู่โลกภายนอก เด็กก็รู้สึกหวาดกลัว ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกภายนอกได้ หรือเกิดจากระบบการทำงานของลำไส้ยังไม่สมบูรณ์ ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้ไม่หมดทำให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารมากจนทำให้เด็กปวดท้อง ระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำให้การเคลื่อนไหวลำไส้ผิดปกติ จุลินทรีย์ในลำไส้มีความหลากหลายน้อย หรือแม้แต่การแพ้นมวัวในเด็ก ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการสันนิษฐานว่าอาจเป็นสาเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดการร้องโคลิคได้ทั้งสิ้น*
การที่เด็กร้องไห้ปกติถือเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ที่จะบอกความต้องการต่างๆ เช่น หิว ง่วงนอน หรือเจ็บป่วย แต่การที่ลูกร้องไม่หยุด หรือลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ในช่วง 5 เดือนแรกอาจเป็นการร้องโคลิค ได้
แบบไหนเรียกว่าโคลิค? **
- มีสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี ระหว่างที่ไม่มีอาการ ลูกดูสบายดี
- เกิดในทารกอายุน้อยกว่า 5 เดือน
- อาการร้องงอแงมักเกิดโดยทันที และร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
- เกิดในช่วงเวลาเดิมๆในแต่ละวัน
- เด็กร้องดัง คล้ายปวดท้อง โดยเกร็งท้อง มือ และขางอเข้าหาตัว
- ร้องแล้วปลอบได้ยาก จนกระทั่งหยุดร้องไปเอง
- ไม่สามารถป้องกันการร้องไห้ได้
ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางคร่าวๆเพื่อประเมินเท่านั้นยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าลูกมีอาการร้องโคลิคจริงๆ หากมีข้อสงสัยขอแนะนำให้ลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
*สุพร ตรีพงษ์กรุณา, ภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายในเด็ก, 2558
** Zeevenhooven J et al. Pediatr Gastroenterol Hepatol Nutr. 2017;20(1):1-13.