อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกทั้ง 7 เมนูง่ายๆ
7 เมนูอาหารเพิ่มน้ำหนักลูก
ความกังวลใจหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กเล็กก็คือเรื่องของน้ำหนักตัวและความเจริญเติบโตของลูก เด็กหลาย ๆ คนที่ไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บป่วยบ่อยหรือมีพัฒนาการที่ไม่สมวัยอาจจะมาจากการขาดสารอาหารซึ่งแสดงออกมาด้วยน้ำหนักตัวหรือส่วนสูงที่น้อย ไม่ได้มาตรฐาน ในวัยเด็กการขาดสารอาหารและมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ในระยะเวลาหนึ่ง อาจจะส่งผลให้เด็กมีปัญหาพัฒนาการด้านต่างๆ หรือมีปัญหาในด้านสุขภาพได้ เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่ร่างกายเติบโตเร็วมาก การสร้างความเจริญเติบโตให้กับเด็กสารอาหารและ นมผง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากทีเดียว
วิธีเลือกนมผงสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนให้เหมาะกับลูกน้อย » คลิก!
สาเหตุที่ลูกมีน้ำหนักตัวลดลง
สาเหตุที่เด็กเล็ก ๆ โดยเฉพาะในวัย 1 ขวบขึ้นไปมีน้ำหนักตัวลดลงมีได้หลายสาเหตุ หากลูกมีน้ำหนักตัวลดลง บางครั้ง ลูกท้องผูก คุณแม่มือใหม่เองหรือคุณพ่อ ก็อาจจะไม่ทราบ ก่อนอื่นเราก็ควรหาสาเหตุให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งอาจจะ มีได้ดังนี้
- เกิดจากการกินของลูก ลูกอาจจะเบื่ออาหาร เลือกกินอาหาร กินอาหารได้ปริมาณน้อย หรือไม่สนใจที่จะกินอาหารเพราะมีความสนใจสิ่งอื่นมากกว่า เช่น ห่วงเล่นมากเกินไป
- อาจจะเกิดจากความเจ็บป่วย ลูกอาจจะมีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย หากน้ำหนักลดมากหรือผอมมากก็ควรสังเกตลูกน้อยและควรให้แพทย์ตรวจให้แน่ใจ เด็กบางคนก็พบว่ามีโรคประจำตัวทำให้กินได้น้อย น้ำหนักจึงลดลง
- ลูกอยู่ในช่วงฟันขึ้นทำให้เจ็บเหงือก ในวัย 1 ขวบกว่า ๆ เป็นช่วงฟันน้ำนมขึ้นจำนวนมากลูกอาจจะปวดเหงือกทำให้รับประทานได้น้อย น้ำหนักจึงลดลง หรือในเด็กวัยประถม ช่วงประถม 2-3 เป็นช่วงฟันน้ำนมหลุด ก็ทำให้น้ำหนักตัวลดเพราะไม่อยากรับประทานอาหารได้
นมแบบไหน เหมาะสำหรับลูกน้อย เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน» คลิก!
7 เมนูอาหารเพิ่มน้ำหนักลูก
หากสาเหตุหลักของลูกน้อยที่ทำให้น้ำหนักลดคือเกิดจากโภชนาการของลูก เรามาดู 7 เมนูอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกด้วยกัน เพื่อปรับอาหารที่ลูกรับประทานให้รับประทานได้มากขึ้น หรือรับประทานแล้วช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวได้ ลูก ๆ อาจจะรับประทานมากขึ้นแต่น้ำหนักไม่เพิ่มเท่าที่ควร หรือรับประทานเท่าเดิมแต่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สิ่งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเมนูอาหารที่เลือกปรุงให้รับประทานนั่นเอง
1. อาหารประเภทข้าวและแป้ง
อย่างที่ทราบกันอยู่ว่า ข้าวและอาหารประเภทแป้งเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงและเพิ่มน้ำหนักได้ผลเร็ว ลองดัดแปลงเมนูจากข้าวและแป้งจากเมนูอาหารเดิม ๆ ที่จำเจ ทำให้ลูก ๆ รับประทานได้มากขึ้น
2. ไข่
ไข่มีทั้งโปรตีนและสารอาหารที่มีคุณค่ามากมาย เมนูอาหารที่ใช้ไข่เป็นวัตถุดิบทั้งคาวและหวาน เมื่อนำมาปรุงให้ลูก ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจพบว่าลูก ๆ เจริญอาหารมากขึ้นและรับประทานได้มากยิ่งขึ้น เมนูไข่ในตอนเช้าเมื่อเพิ่มส่วนผสมอื่น ๆ ไปก็ทำให้เพิ่มน้ำหนักได้ เช่น ใส่นมและชีสลงไปในส่วนผสมไข่คน เป็นต้น
3. ชีสผลิตภัณฑ์จากนม
นมและชีสนอกจากเป็นอาหารเพิ่มน้ำหนักลูก แล้ว ยังเป็น แหล่งของแคลเซียมที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟันอีกด้วย ชีสมีพลังงานสูง อาจจะดัดแปลงได้ทั้งอาหารคาวและหวาน ชีสทานกับเนื้อเบอร์เกอร์ ชีสชุบแป้งทอด ชีสในขนมเมนูต่าง ๆ ลูกรักจะเพลิดเพลินกับรสชาติที่อร่อยและเพิ่มน้ำหนักได้
4. เพิ่มเมนูผักและผลไม้ที่ให้พลังงานสูง
หลายท่านอาจคิดว่าผักและผลไม้ เป็นเมนูอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกไม่ได้ แต่มีผักหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักได้ เช่น ข้าวโพด เผือก มัน และฟักทอง ผลไม้ได้แก่ กล้วย มะม่วงสุก และทุเรียน
5. อาหารจำพวกทอดอาหารเมนูทอดและผัด
เป็นเมนูอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกได้อย่างดี หากตามปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่ทำอาหารให้ลูกจำพวก ไข่ตุ๋น แกงจืด ก็ให้เปลี่ยนเป็นไข่เจียว หมูทอด ผัดผัก โดยเลือกน้ำมันพืชที่สะอาด ไม่ใช้ซ้ำ ลูก ๆ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง ในวัยเด็กการรับประทานของทอดในปริมาณพอดีไม่ได้ทำให้อันตรายหากน้ำมันที่ใช้ปรุงนั้นสะอาด ใหม่
6. อาหารที่มีกลิ่นหอม
อาหารที่มีกลิ่นหอมในแบบที่เด็ก ๆ ชอบ ถูกใจ จะเป็นอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในทางอ้อม เพราะกลิ่นของอาหารทำให้เกิดความอยากอาหารและรับประทานอาหารได้เพิ่มมากขึ้นในแต่ละมื้อ บางบ้านเน้นอาหารมีประโยชน์ในรสจืด กลิ่นอาจจะไม่แรงเด็ก ๆ ก็ไม่รู้สึกถูกกระตุ้นให้อยากอาหาร เลือกเมนูอาหารที่มีกลิ่นหอมน่าทานเป็นพิเศษลูกจะรับประทานได้มากขึ้น
7. เมนูอาหารที่ทำให้นอนหลับง่าย
ลูก ๆ บางบ้านน้ำหนักลดลงเพราะนอนน้อย ยิ่งในเด็กยุคนี้มีกิจกรรมมากมายที่ทำให้ดึงเวลาการนอนให้ลดน้อยลง เมนูอาหารที่จะช่วยให้เด็ก ๆ นอนหลับสนิท เพิ่มน้ำหนักได้ เช่นการเสริฟนมอุ่น ๆ ก่อนนอน ซุปครีมข้นในมื้ออาหารเย็นก่อนนอนเป็นต้น
เมื่อเด็ก ๆ ได้รับประทานอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกทั้ง 7 เมนูที่ได้แนะนำมา คุณพ่อคุณแม่ก็ควรพบว่า ลูกรักจะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และ ควรรับประทานนมเด็กแรกเกิด ควบคู่กันไปด้วย
Source:
· แนวทางการให้คำแนะนำ/ปรึกษาการบริโภคอาหารสำหรับเด็กขาดอาหารและกลุ่มเสี่ยง. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน ส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ในคลินิกสุขภาพเด็กดี สำหรับบุคลากรสาธารณสุข สำนักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2558. หน้า 52.
· คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนเด็กวัยอนุบาล 3-6 ปี. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.